Home  »  General Tips   »   “ซิลิก้า” คืออะไร ? ทำไมยางแพงๆ ต้องมี ?

“ซิลิก้า” คืออะไร ? ทำไมยางแพงๆ ต้องมี ?

silica in tyre

จากการพัฒนายางรถยนต์มาเป็นเวลาร้อยกว่าปี หนึ่งในเทคโนโลยี หรือระบุให้เฉพาะเจาะจงอีกนิด คือสารประกอบ ในเนื้อยางที่เรามักได้ยินเสมอๆคือ “การใส่สารซิลิก้า” ลงไป ซึ่งหลายคนก็สงสัยว่ามันคืออะไร และในวันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน

Bridgestone Ballax

ซิลิก้า คือ สารประกอบที่เกิดจากการสร้างพันธะระหว่างกันของธาตุซิลิกอน (Si) 1 อะตอม กับ ออกซิเจน (O) 2 อะตอม รวมกันเป็น สารประกอบที่มีสูตรทางเคมี “SiO2” (อ่านว่า ซิลิกอนไดออกไซด์)  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งการสังเคราะห์ในห้องแล็บ หรือพบได้ในธรรมชาติ ทั้งจาก แร่ควอทซ์, แร่โคไซต์, แร่ไทรดิไมต์, แร่คริสโตบาไลต์ หรือที่คุ้นเคยกันที่สุด คือ เม็ดทราย เป็นต้น

 

จุดเด่นของซิลิก้า ก็คือ การสร้างพันธะระหว่างอะตอมของโมเลกุลนี้ จะเป็นการสร้างพันธะแบบโคเวเลนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบพันธะระหว่างอะตอม ที่มีความแข็งแกร่งสูง และตัวโมเลกุลเอง เมื่อก่อตัวรวมกันเป็นสะสาร ก็จะมีการสร้างพันธะร่วมกันเป็นร่างแห ซึ่งทำให้สสารมีความแข็งแกร่ง ทนทานสูงอีก

Bridgestone Ballax

โดยจากที่ในอดีต ผู้ผลิตต้องเลือกว่า หากพวกเขาต้องการให้ยาง มีความแข็งแรง ทนทาน มีอัตราการสึกหรือต่ำ มันก็มักจะแลกกับความสามารถให้ตัวที่ต่ำ และทำให้ไม่สามารถสร้างแรงยึดเกาะกับผิวถนนได้ดี

 

ในทางกลับกัน หากผู้ผลิตเลือกที่จะเน้นออกแบบให้ยางมีความนุ่ม หนึบ เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานในการยึดเกาะไปเลย มันก็จะแลกมากับอัตราการสึกหรอที่สูง แถมยังกินกำลังเครื่องยนต์มากเกินไป จนทำให้รถกินน้ำมัน หรือเร่งไม่ออกแทน

 

แต่ด้วยคุณสมบัติของ สารซิลิก้าข้างต้น เมื่อถูกนำมาบดผสมในเนื้อยางแล้ว มันกลับทำให้เกิดการปรับสภาพเนื้อยาง ให้มี  “3 องค์ประกอบ ของยางที่ดี” หรือ “Magic Triangle” ที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างรอบด้านแทน นั่นคือ

Bridgestone motorcycle tire-1

1. “การเกาะถนนที่ดีกว่าทั้งบนทางแห้ง และโดยเฉพาะทางเปียก” จากความยืดหยุ่นของพันธะร่างแหระหว่างตัวสสารเอง ทำให้เนื้อยางสามารถให้ตัวรับกับหน้าสัมผัสบนพื้นถนนได้ดีขึ้น รวมถึงยังไม่แปรเปลี่ยนสภาพความยืดหยุ่นต่ออุณหภูมิ (เหลวเมื่อร้อน หรือแข็งเมื่อเย็น) ได้ง่ายๆ ทำให้เนื้อยางไม่ช็อค หรือเกิดการแข็งตัวฉับพลันเมื่อเจอน้ำ หรือความเย็นกะทันหัน

 

2. “ความต้านทานการสึกหรอที่มากกว่า” จากความแข็งแรงของพันธะระหว่างโมเลกุลที่มีความแข็งแกร่งสูง ทำให้เนื้อยางมีทนทานต่อการถูกพื้นถนนขีดข่วนขณะใช้งานมากขึ้น ส่งผลให้ยางสามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้นจากอัตราการสึกหรอที่ต่ำลง

3. “มีแรงต้านการหมุนต่ำ” จากคุณสมบัติในเรื่องของโครงสร้างโมเลกุลที่ข้อก่อนหน้าเช่นกัน ทำให้เนื้อยางมีอัตราการดูดซับพลังงานขณะหน้ายางกำลังเคลื่อนตัวสัมผัสไปตามผิวถนนน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ยางกินกำลังเครื่องยนต์ที่ใช้ในการหมุนล้อน้อยลง และช่วยลดอัตราสิ้นเปลืองพลังงานของรถด้วยไปในตัวนั่นเอง

 

โดยหากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดมากขึ้น ณ ปัจจุบัน ยางรถมอเตอร์ไซค์ก็มีหลายหลายรุ่นด้วยกันที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยมีการใส่สารซิลิก้าเข้าไปเพิ่มเสริมคุณสมบัติให้เนื้อยางมีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น ภายใต้ชื่อเทคโนโลยีว่า Silica Rich และ Silica Rich EX (ใส่สารซิลิก้ามากกว่า Silica Rich ขึ้นมาอีกขั้น)

Bridgestone เองก็เป็นแบรนด์ที่นำ “ซิลิก้า” มาผสมผสานกับเทคโนโลยีการผลิตของแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์การขับขี่ได้ทุกการใช้งาน

 

เช่น ยางรถมอเตอร์ไซค์ในกลุ่มทัวร์ริ่ง อย่างตระกูล Battlax Sport Touring T32/T33 ที่จะได้เทคโนโลยี Silica Rich สำหรับยางหน้า และ Silica Rich EX สำหรับยางหลัง เนื่องจากยางหลังต้องรับภาระและแรงกระทำมากกว่า ดังนั้นการเสริมความแข็งแรงและความทนทานในเนื้อยางจึงจำเป็นมากกว่า

เช่นเดียวกับยางรถมอเตอร์ไซค์ตระกูลไฮเปอร์สปอร์ต อย่าง Battlax Hypersport S21/S22/S23 ที่แม้จะเป็นยางที่ออกแบบมาให้รองรับการวิ่งด้วยความเร็วสูง แต่ก็ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันในระยะยาว ก็จะได้รับการใส่สารซิลิก้าในเนื้อยางมาในลักษณะเดียวกันกับ ยางตระกูลทัวร์ริ่ง

 

หรือแม้แต่ยางตระกูลสนามกึ่งถนน อย่าง Battlax Racing Street RS10/RS11 เอง ก็มีการใส่สารซิลิก้ามาด้วยเช่นกัน เพื่อให้มันมีความทนทานสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน บนถนนสาธารณะได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ประสิทธิภาพในการยึดเกาะเมื่อต้องถูกหวดในสนามหนักๆก็ยังคงทำได้ดีอีกด้วย

Compound Type Bridgestone-1

อย่างไรก็ดี การใส่สารซิลิก้าลงไปในยาง จำเป็นจะต้องมีการคำนวนอัตราส่วนการผสมให้สมดุลกับส่วนประกอบอื่นๆในเนื้อยาง เนื่องจากหากผู้ผลิตใส่สารประกอบชนิดนี้ลงไปในเนื้อยางมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ยางแข็ง มีความยืดหยุ่นต่ำ จนสูญเสียความสามารถในการยึดเกาะได้ง่าย หรืออาจจะสามารถสะสมความร้อนได้ยากจนเนื้อยางมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานได้ช้าเป็นต้น

Compound Type Bridgestone-1

ดังนั้น เราจึงจะพบว่า เมื่อเป็นยางเกรดลงสนามจริงๆ เช่นตระกูล Battlax Racing R11 หรือ Battlax V02 ที่สามารถออกแบบให้เนื้อยางสามารถมีความนุ่มและดูดพื้นแทร็คได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความทนทาน หรือการรักษาอุณหภูมิยาง เพราะก่อนการใช้งาน ผู้ใช้ควรที่จะต้องมีผ้าวอร์มยาง และในขณะขี่ด้วยความเร็วสูง ยางก็สามารถสร้างความร้อนจากภาระที่เกิดขึ้นได้มากพอด้วยตัวเองอยู่แล้ว จะไม่ได้ถูกใส่เทคโนโลยี Silica Rich หรือ Silica Rich EX มาให้เลยนั่นเอง (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีสารซิลิก้าอยู่ในเนื้อยางเลย แค่เพียงมีน้อยกว่ายางที่ระบุการใส่เทคโนโลยีข้างต้นมาให้ตั้งแต่แรกก็เท่านั้น)

 

ทั้งนี้ สารประกอบ และส่วนประกอบที่ช่วยยกระดับคุณภาพของยางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แท้จริงแล้วก็ไม่ได้มีเพียงแค่สารซิลิก้าเท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบอีกตั้งแต่หลัก 30-100 องค์ประกอบแล้วแต่ประเภทยาง หรือสูตรเฉพาะตัวของแต่ละผู้ผลิตอีก นั่นจึงหมายความว่าเรายังมีอีกหลายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับองค์ประกอบยางให้ทุกคนได้รู้จักกันเพิ่ม ซึ่งเราจะมาอัพเดทความเข้าใจให้ทุกคนได้อ่านกันอีกแน่นอนในโอกาสหน้า

 

หากเพื่อนๆ สนใจยางดีๆ ไม่ว่าจะเป็นรถใช้งานทั่วไป รถสปอร์ตตั้งแต่รุ่นเล็กยันบิ๊กไบค์รุ่นใหญ่ สายวิบาก สายแอดเวนเจอร์ สายทัวร์ริ่ง สายสกู๊ตเตอร์คันเล็กคันใหญ่  Bridgestone มีให้ครบ และตัวแทนจำหน่ายก็ครอบคลุมทั่วประเทศอีกด้วย (สามารถค้นหาตัวแทนจำหน่ายได้ที่นี่) และยังสามารถติดตามข่าวสารโปรโมชั่นเด็ดๆ ได้ที่ Official Facebook Fanpage ของ Bridgestone Moto Thailand

Source Cr.: Bridgestone, Tiremart.com, Scimath.org

อ่านข่าว Genaral Tips เพิ่มที่นี่

อ่านข่าว Bridgestone เพิ่มที่นี่


 

เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่

Website : motowish.com 

Facebook : facebook.com/motowish



ห้ามคัดลอกบทความหรือเนื้อหาในเว็บ Motowish