ต้องทำอย่างไร เมื่อกำลังจะถูก “ไฟแนนซ์” ยึดรถ !!
ในยุคที่โลกกำลังเต็มไปด้วยโรคระบาด และมาพร้อมกับสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลงทุกวัน สำหรับผู้ที่กำลังผ่อนรถอยู่ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ถ้าถึงคราวต้องขาดส่งแล้วกำลังจะโดนไฟแนนซ์ยึดรถจะมีวิธีการเอาตัวรอดอย่างไร
แน่นอนว่าภาระหนี้สินนั้นเราทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราก็ควรที่จะมีวิธีการรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้องโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทไฟแนนซ์จนเกินไป
เราต้องเข้าใจก่อนว่าการซื้อรถไม่ว่าจะเป็นบิ๊กไบค์หรือรถต่างๆ โดยวิธีการวางเงินดาวน์แล้วทำการตกลงผ่อนชำระค่ารถที่เหลือเป็นรายเดือน ในทางกฎหมายเขาเรียกว่า สัญญาเช่าซื้อ โดยเราก็จะเป็นผู้เช่าซื้อ และบริษัทไฟแนนซ์ที่ออกเงินให้เราไปก่อนก็คือ ผู้ให้เช่าซื้อ และก็จะมีข้อตกลงประมาณว่าหากผิดนัดชำระหนี้ 3 งวดติดกัน สามารถถูกบอกเลิกสัญญาได้
หากเราผิดนัดชำระ 3 งวดติดกัน ก็จะถูกไฟแนนซ์ตามไล่ล่าเพื่อที่จะเอารถคืน ซึ่งวิธีการแบบนี้ไฟแนนซ์ไม่สามารถทำได้ จะต้องทำการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาและมีหมายบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไปนำยึดเท่านั้น อันนี้เป็นข้อที่ควรรู้ไว้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็จะถูกตามกวนใจอยู่ดี
ก่อนจะไปถึงขั้นตอนยึดรถ เรามาดูวิธีประนีประนอมกันก่อนดีกว่า โดยสิ่งนี้เรียกว่า “การปรับปรุงโครงสร้างหนี้” เป็นเรื่องปกติของสถาบันการเงินทุกที่ เมื่อลูกหนี้ผ่อนไม่ไหวก็จะมีการเสนอทางออกให้โดยการปรับปรุงโครงสร้างซะใหม่ อาจจะผ่อนนานขึ้นอีกประมาณ 12 เดือน ยอดต่องวดน้อยลง แต่ต้องไม่ลืมว่าดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าหากเราไม่ต้องการเสียรถไปและไม่อยากมีคดีความวุ่นวาย นี่ก็เป็นอีกหนึ่งทางออก
ทางออกต่อมา การคืนรถให้กับไฟแนนซ์ ทางออกนี้ดูเหมือนจะดี แต่ว่าหากรถที่เราคืนไป เช่นบิ๊กไบค์เราซื้อมาราคา 1,000,000 บาท ดาวน์ไป 200,000 บาท เหลือต้องจ่ายรายงวด 800,000 บาท ชำระไปได้สักพัก เหลือยอด 600,000 บาท แต่เราผ่อนไม่ไหว ก็บอกกับไฟแนนซ์ว่าเราขอคืนรถ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะจบ
ไฟแนนซ์ต้องเรารถของเราไปขายทอดตลาดได้เงินมาเท่าไหร่ก็หักลบกับหนี้ 600,000 บาทที่เหลือ ถ้าไฟแนนซ์ขายไปได้ 400,000 บาท ก็ยังเหลืออีก 200,000 บาท ซึ่งเราต้องชำระต่อนั่นเอง แต่ถ้าขายทอดตลาดได้เงินเกินหนี้ที่เราติดอยู่ ไฟแนนซ์ก็ต้องคืนเงินส่วนเงินให้เรา
สุดท้ายหากเราไม่ไหว ไม่ส่งค่างวดจนถูกฟ้องร้องต่อศาล มันก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนศาลจะมีคำพิพากษา อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับข้อตกลงที่ทางทนายของไฟแนนซ์เสนอมาได้หรือไม่ ถ้ายอมรับได้ก็บอกกับศาลไปว่ายอมรับข้อตกลงเซ็นประนีประนอมไป ศาลก็จะพิพากษาตามที่เราประนีประนอมนั้น ข้อพึงระวังก็คือหากเราผิดนัดชำระหนี้ขั้นตอนนี้อีก เราจะถูกบังคับคดียึดรถและทรัพย์สินโดยพนักงานบังคับคดีของรัฐได้เลย โดยไม่ต้องมีการฟ้องศาลอีก
แต่ถ้าเราไม่ตกลงตามข้อเสนอของทางไฟแนนซ์ และศาลตัดสินให้เราแพ้คดี ขั้นตอนต่อมาคือการบังคับคดี แน่นอนว่ารถเรานั้นจะต้องถูกยึดหากหาเงินมาชำหนี้ตามคำพิพากษาได้ไม่ครบ แต่..ไม่ใช่แค่รถแล้วสิที่จะถูกยึด เพราะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งก็คือไฟแนนซ์ จะสืบหาทรัพย์สินของเราเพิ่มเติม เพื่อให้พนักงานบังคับดดีของรัฐ ยึดเอามาประมูลขายทอดตลาด เช่น ที่ดิน เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถอายัดเงินเดือนส่วนหนึ่งของเราเพื่อเอาไปชำระหนี้ได้ด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับวิธีการรับมือกับการจะถูกไฟแนนซ์ยึดรถ รวมถึงความเป็นไปหลังจากนั้น แต่อย่างว่าหละครับ เมื่อเราเป็นหนี้เขา โอกาสรอดมันมีน้อย แต่โอกาสบรรเทายังพอมีอยู่บ้าง ช่วงโควิด-19 ระบาดอยู่ชณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งมีมาตรการออกมาช่วยเหลือลูกหนี้มากมาย ยังไงอยากให้ไบค์เกอร์ลองติดต่อสอบถามดูแล้ว เผือจะบรรเทาลงไปบ้างไม่มากก็น้อย
อ่านข่าว General Tips เพิ่มที่นี่
เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่
Website : motowish.com
Facebook : facebook.com/motowish