วิธีปรับตั้งค่าโช้คหลัง Öhlins ให้ถูกใจเหล่าไบค์เกอร์

โช้คเป็นสิ่งหนึ่งที่เหล่าไบค์เกอร์ควรให้ความสำคัญ เพราะการขับขี่จะเป็นไปอย่างใจต้องการหรือไม่โช้คคือปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งอย่าง วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับโช้คหลังพร้อมกับวิธีการปรับแต่งค่า ของโช้ค Öhlins กัน

การหาค่าสปริงโช้ค Öhlins
A ระยะปกติของสปริง
B ระยะสปริงเมื่อติดตั้งในโช้คเมื่อโช้คยืดตัวเต็มที่
A – B = สปริงพรีโหลด
สปริงพรีโหลดคือค่าระยะที่แตกต่างของ A และ B
โช้ครถจักรยานยนต์และสกูตเตอร์ทุกรุ่นของ Öhlins จะมีสปริงพรีโหลดที่สามารถตั้งค่าได้ตามต้องการ การปรับค่าสปริงพรีโหลดนั้นจะขยับระยะนั่งของสปริง ด้วยการลดหรือเพิ่มแรงต้านสปริง ซึ่งจะเป็นการยกหรือลดความสูงของท้ายรถจักรยานยนต์นั่นเอง
สปริงพรีโหลดเป็นการตั้งค่าพื้นฐานสำหรับฟังก์ชันระบบกันสะเทือน เนื่องจากหากตั้งค่าไม่ถูกต้อง การตั้งค่าอื่นๆ ทั้งหมดอาจไม่มีประสิทธิภาพได้

การปรับสปริงพรีโหลดของโช้ค Öhlins
- ตัวปรับแบบใช้เครื่องมือ
ใช้ประแจตัว C คลายน็อตล็อค (1A) ย้ายแท่นสปริงด้านล่าง (1B) ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มพรีโหลด หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดพรีโหลด
- ตัวปรับไฮดรอลิก
หมุนปุ่มปรับไฮดรอลิกเพื่อตั้งค่าสปริงพรีโหลด หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มพรีโหลด และหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดพรีโหลด
- ตัวปรับไฮดรอลิกในตัว
หมุนสกรูหกเหลี่ยมบนตัวปรับไฮดรอลิกเพื่อตั้งค่าสปริงพรีโหลด หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มพรีโหลดหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดพรีโหลด
- ตัวปรับ 3 ระดับด้วยเครื่องมือ
ใช้ประแจตัว C คลายน็อตล็อค หมุนวงแหวนปรับ มีสาม [3] ตำแหน่งให้ปรับ (A, B และ C)
- ตัวปรับแบบใช้เครื่องมือ
ไขสกรูไนลอนที่ตัวปรับสปริงด้วยไขควง (5A) ใช้เครื่องมือ 03199-01 แล้วหมุนตัวปรับสปริงตามเข็มนาฬิกา เพื่อเพิ่มพรีโหลด (5B) หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดพรีโหลด

การปรับคอมเพรสชั่นของโช้ค Öhlins
หากรถจักรยานยนต์ให้ความรู้สึกยวบ ไม่มั่นคง เนื่องจากการระยะห่างของตัวรถกับล้อมีมากเกินไป และมีสปริงที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ให้ปรับคอมเพรสชั่น 2 คลิก ด้วยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มการควบคุมล้อในระหว่างการเร่งความเร็วได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันรถยกตัวและกดต่ำเร็วเกินไปอีกด้วย
หากรถจักรยานยนต์ให้ความรู้สึกว่าสูงเกินไป ไม่เกาะถนน และรู้สึกกระด้างเมื่อรถเจอการกระแทกขนาดเล็กหรือขนาดกลางขณะที่เร่งรถ ให้ปรับค่าคอมเพรสชั่น 2 คลิก ต่อมาลองขับขี่ดูแล้วปรับตั้งค่าให้เหมาะกับสไตล์การขับขี่ของคุณเองได้ เมื่อความรู้สึกในการขับขี่ดีขึ้นแล้ว แนะนำให้เริ่มต้นใหม่และทำการตรวจสอบอีกครั้ง สังเกตปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นยาง อุณหภูมิ ฯลฯ ทดสอบการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าควรทำการปรับแต่งเพิ่มเติมหรือไม่
ตัวควบคุมคอมเพรสชั่นจะทำการควบคุมการดูดซับพลังงานเมื่อมีการบีบอัดโช้ค ดังนั้น มันจะทำหน้าที่คอยควบคุมว่าโช้คบีบอัดง่ายเพียงใดเมื่อล้อหลังมีแรงกระทำหรือกระแทก
ตัวปรับแต่งแบบที่ 1
ปรับได้ด้วยการหมุนปุ่มด้านบนกระปุกเก็บของเหลวตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการหน่วง หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดการหน่วง
ตัวปรับแต่งแบบที่ 2
ปรับได้โดยหมุนปุ่มด้านบนกระปุกเก็บของเหลวตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการหน่วง หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดการหน่วง
ตัวปรับแต่งแบบที่ 3
ปรับได้โดยหมุนปุ่มด้านบนกระปุกเก็บของเหลว หมุนสกรูตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการหน่วง หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดการหน่วง
ตัวปรับแต่งแบบที่ 4
ปรับได้โดยหมุนปุ่มด้านบนกระปุกเก็บของเหลว ความเร็วสูง: หมุนสกรูหกเหลี่ยม ความเร็วต่ำ: หมุนสกรูตรงกลางแบบเจาะรู
การรีเซ็ตตัวปรับแต่ง
- หมุนตัวปรับแต่งตามเข็มนาฬิกาไปจนตำแหน่งปิด (ตำแหน่งศูนย์ [0])
- หมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเปิด และนับจำนวนคลิกจนกว่าจะถึงจำนวนคลิกที่แนะนำ ตรวจสอบข้อมูลการตั้งค่าในคู่มือการติดตั้งที่ให้มาพร้อมกับโช้ค

การปรับรีบาวด์ของโช้ค Öhlins
หากรู้สึกพอใจกับการตั้งค่าของสปริง, พรีโหลดและความสูงของรถอยู่แล้ว แต่เมื่อเร่งความเร็วรถ กลับเกิดปัญหาความสูงรถต่ำลง หรือสูญเสียความนุ่มนวลและแรงฉุด ให้ปรับค่ารีบาวด์ 2 คลิก
ปรับค่ารีบาวด์ 2 คลิก หากรถมีอาการสั่นหรือโคลงเวลาเข้าโค้ง ให้ปรับค่ารีบาวด์จำนวน 2 คลิก แล้วปรับทีละหนึ่ง 1 คลิก ต่อมาลองขับขี่ดูแล้วปรับเปลี่ยนเท่าที่จำเป็น หากต้องการตรวจสอบค่ารีบาวด์ดั้งเดิม สามารถดูคำแนะนำในคู่มือการติดตั้งโช้คได้
ตัวควบคุมรีบาวด์จะทำการควบคุมการดูดซับพลังงานเมื่อมีการยืดตัวของโช้ค และจะควบคุมความเร็วที่โช้คจะคืนตัวไปในระยะดั้งเดิมหลังจากที่โดนบีบอัด
ตัวปรับความหน่วงการยืดตัว
หมุนล้อบนเพลาลูกสูบเหนือตัวยึด หมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการหน่วง จากนั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อลดความหน่วง
การรีเซ็ตตัวปรับ
หมุนตัวปรับตามเข็มนาฬิกาไปที่ตำแหน่งปิดสนิท (ตำแหน่งศูนย์ [0]) จากนั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเปิด และนับจำนวนคลิกจนกว่าจะถึงจำนวนคลิกที่แนะนำ

การปรับความยาวโช้คหลัง
โดยการปรับความยาวของโช้ค ทั้งรูปทรงคันบังคับและแรงยึด สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ปรับให้สั้นลง
โช้คที่สั้นจะทำให้รถจักรยานยนต์เตี้ยลง องศาของโช้คหน้าและค่าเทรลจะเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วค่าแรงยึดจะลดลง ส่งผลให้ค่า Anti-squat ลดลงตามไปด้วย การปรับความยาวของโช้คจะทำให้จุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยนไปเล็กน้อยด้วยเช่นกัน
- ปรับให้ยาวขึ้น
โช้คที่ยาวขึ้นส่งผลให้รถจักรยานยนต์สูงขึ้น องศาของโช้คหน้าและค่าเทรลจะลดลง ซึ่งโดยปกติแล้วค่าแรงยึดจะเพิ่มขึ้นตามค่า Anti-squat และอีกเช่นเคย การเปลี่ยนแปลงจุดศูนย์ถ่วงเล็กน้อย เป็นผลมาจากการเปลี่ยนความยาวของโช้ค
- การปรับความยาว
แนะนำให้ถอดโช้คออกจากรถก่อนทำการปรับความยาว ใช้ประแจสองตัวจับน็อตตัวบนด้วยมือข้างหนึ่งแล้วคลายน็อตล็อคด้วยอีกอัน (น็อตตัวล่าง) หมุนตัวยึดไปตามความยาวที่ต้องการ แล้วขันน็อตล็อคอีกครั้ง (แรงขัน: 40 นิวตันเมตร) 1 เทิร์นคือ 1 มม. ของความยาวโช้ค

ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้วัดความสูงของรถก่อนและหลังการปรับความยาว โดยมีวิธีดังนี้ (ดูภาพบนประกอบ)
- วางขาตั้งรถเพื่อให้ล้อทั้งสองข้างอยู่เหนือพื้นและระบบกันสะเทือนไม่มีแรงกระทำ
- ทำเครื่องหมาย เช่น พันเทปบริเวณจุดเหนือเพลาล้อหลังทันที
- วัดระยะจากจุดที่ทำเครื่องหมายไปยังจุดคงที่ เช่น เพลาล้อ (R1)
- วัดระยะจากด้านล่างของแคลมป์สามตัวบนไปยังจุดคงที่ เช่น เพลาล้อหน้า (F1)
- ตั้งรถจักรยานยนต์บนพื้นราบเพื่อให้ระบบกันสะเทือนด้านหน้าและด้านหลังเกิดการบีบอัดเล็กน้อย จากนั้นทำซ้ำขั้นตอนการวัด (R2 และ F2)
- นั่งบนรถจักรยานยนต์ในท่าขี่ปกติ สวมใส่อุปกรณ์ขับขี่อย่างเหมาะสม ทำซ้ำขั้นตอนการวัด (R3 และ F3)
แนวทางในการวัด
หากดูในคู่มือแล้วไม่มีคำแนะนำอื่นๆ ให้ใช้คำแนะนำตามข้างล่างนี้
- Free sag (r1-r2), (f1-f2)
- หลัง 5-15 มม. หน้า 20-30 มม
- ความสูงในการขับขี่ (r1-r3), (f1-f3)
- หลัง 25-35 มม. หน้า 30-40 มม

การปรับและตั้งค่าที่แนะนำ
ความหน่วงการยืดตัวและการบีบอัด: ± 5 คลิกจากการตั้งค่าดั้งเดิม (พื้นฐาน)
ในการตั้งค่ารถจักรยานยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ให้เหมาะกับทุกประเภทของเส้นทางที่ต้องการ จำเป็นต้องปรับตั้งค่าโช้คหน้าและหลังไปพร้อมกัน และสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือไม่มีการตั้งค่าใดที่จะสมบูรณ์แบบ 100% เพราะในทุกเส้นทางย่อมมีความแตกต่างเฉพาะตัวเสมอ
ในระหว่างขั้นตอนนี้ แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญตามนี้: ความรู้สึกปลอดภัย ความมั่นคง และความนุ่มนวล การจัดลำดับแบบนี้จะทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัยขึ้นและใช้พลังงานน้อยลง

การดูแลระบบกันสะเทือนหลัง
ผู้ขับขี่ควรนำโช้คเข้ารับการบำรุงรักษาที่ศูนย์บริการ Öhlins อย่างเป็นทางการ ทุกๆ 3 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร (แล้วแต่อย่างใดจะถึงก่อน) เพื่อให้มั่นใจว่าโช้คของคุณจะได้รับการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม พร้อมป้องกันความเสี่ยงในการได้รับอะไหล่ปลอมและไม่มีคุณภาพ
นอกจากการตรวจสอบและบำรุงรักษาโช้คเป็นประจำแล้ว ยังควรตรวจสอบลมยางและเลือกใช้สปริงที่เหมาะสมกับน้ำหนักและสไตล์การใช้งานของผู้ขับขี่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ Öhlins ยังคงมอบประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม และหากมีความต้องการการบริการเพิ่มเติม สามารถติดต่อศูนย์บริการ Öhlins อย่างเป็นทางการ
การทำความสะอาด
ทำความสะอาดโช้คภายนอกด้วยน้ำยาทำความสะอาดอ่อนๆ จากนั้นใช้เครื่องเป่าลมเพื่อขจัดสิ่งตกค้าง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งสกปรกออกหมด ยกยางกันกระแทกและทำความสะอาดบริเวณด้านล่าง และฉีดพ่นด้วยน้ำมันหลังการล้าง (WD40, CRC 5-56 หรือเทียบเท่า) เพื่อรักษาโช้คให้สะอาด จากนั้นใช้ผ้าเช็ดของเหลวส่วนเกินออก

การตรวจสอบและเช็คโช้คหลัง
- ตรวจสอบลูกหมายว่ามีระยะห่างหรือแรงเสียดทานมากไปหรือไม่
- ตรวจสอบการรั่วและความเสียหายของเพลาลูกสูบ
- ตรวจสอบตัวโช้คเพื่อดูความเสียหายภายนอก
- ตรวจสอบกระปุกของเหลวสำหรับความเสียหายภายนอกที่จะทำให้ลูกสูบลอยเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
- ตรวจสอบการสึกหรอของส่วนประกอบยาง
- ตรวจสอบจุดยึดของโช้คกับรถ
ชมคลิปวีดีโอ
Source Cr.: Öhlins
อ่านข่าว Garage Tips เพิ่มที่นี่
อ่านข่าว Öhlins เพิ่มที่นี่
เรื่องราว ข่าวสองล้อที่สาวกไบค์เกอร์ต้องรู้ที่
Website : motowish.com
Facebook : facebook.com/motowish